Close
  • TH
  • |
  • EN
  • Facebook
  • Youtube
  • CSR

  • Close
  • EN
  • Facebook
  • Youtube
  • ESG
  • หน้าหลัก
  • บทวิเคราะห์
  • บริการ
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • Trinity Academy
  • Trinity Member
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • เปิดบัญชี
  • Trinity
    Member
  • ดาวน์โหลด
  • Suitability

INSIGHT TO INVEST

เข้าใจลึกซึ้ง เข้าถึงทุกการลงทุน

  1. หน้าแรก
  2. แหล่งความรู้
  3. อธิบายคำศัพท์
  • หลักทรัพย์ & อนุพันธ์
  • หุ้นกู้
  • ลงทุนในเวียดนาม
  • คริปโทเคอร์เรนซี่
  • ทองคำ
  • บทความการลงทุน
  • อธิบายคำศัพท์
  • ตัวอักษร

  • A
  • B
  • C
  • D
  • E
  • F
  • G
  • H
  • I
  • L
  • M
  • N
  • O
  • P
  • Q
  • R
  • S
  • T
  • U
  • V
  • W
  • X
  • ตัวอักษร

  • A
  • B
  • C
  • D
  • E
  • F
  • G
  • H
  • I
  • L
  • M
  • N
  • O
  • P
  • Q
  • R
  • S
  • T
  • U
  • V
  • W
  • X

ด้านหลักทรัพย์


Capital Gain กำไรจากการขายหลักทรัพย์ 


Capital Gain กำไรจากการขายหลักทรัพย์  : ผลกำไรที่เกิดจากการขายหุ้นได้ในราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อมา ผู้ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ของกำไรจากการขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

 

Capital Market ตลาดทุน 


Capital Market ตลาดทุน : แหล่งระดมเงินออมระยะยาวและให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ได้แก่ เงินฝากประจำ หุ้นกู้ หุ้นสามัญ และพันธบัตรทั้งของรัฐบาลและเอกชน เพื่อจัดสรรให้กับผู้ที่ต้องการเงินทุนระยะยาวได้นำไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ
 


Cash Dividend เงินสดปันผล


Cash Dividend เงินสดปันผล  : เงินปันผลที่ได้จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นในรูปของเงินสด บริษัทส่วนมากจะจ่ายเงินปันผลในรูปของเงินสด เว้นแต่จะมีเหตุอื่นที่ทำให้เกิดผลดีแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาวมากกว่า บริษัทจึงจะจ่ายปันผลในรูปอื่น


Ceiling Price ราคาเพดาน   


Ceiling Price ราคาเพดาน   : ระดับสูงสุดที่ราคาหุ้นจะขึ้นไปได้ในแต่ละวันทำการ ปัจจุบันนี้ตลาดหลักทรัพย์กำหนดว่าการสูงขึ้นของราคาหุ้นในแต่ละวันจะเกินกว่าร้อยละ 30 ของราคาปิดวันก่อนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดเรื่องราคาเพดานไม่บังคับใช้กับการซื้อขายบน Foreign Board และบน Big-Lot Board ในกรณีที่รายการซื้อขายมีปริมาณเท่ากับหรือเกินกว่า 10% ของทุนจดทะเบียน
 


Circuit Breaker เซอร์ขิตเบรกเกอร์  
Circuit Breaker เซอร์ขิตเบรกเกอร์  : มาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์นำมาใช้หยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว ในยามที่การซื้อขายโดยรวมในตลาดหลักทรัพย์เกิดตกต่ำลงอย่างมากผิดปกติ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ลงทุนโดยทั่วไปได้มีเวลาตรวจสอบข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดให้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ต่อไป


Clearing and Settlement การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์   

Clearing and Settlement การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ : กระบวนการที่บริษัทสมาชิกผู้ซื้อชำระราคาหลักทรัพย์และรับมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และบริษัทสมาชิกผู้ขายส่งมอบหลักทรัพย์ และรับชำระเงินค่าขายหลักทรัพย์จากบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งต้องกระทำในวันทำการที่ 3 ภายหลังวันตกลงซื้อขายหลักทรัพย์ การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ดังกล่าวกระทำกันโดยใช้ยอดสุทธิซื้อและยอดสุทธิขายของแต่ละบริษัทสมาชิก


Closed - Ended Fund กองทุนปิด  

Closed - Ended Fund กองทุนปิด   : กองทุนรวมประเภทที่กำหนดขนาดกองทุนไว้แน่นอนตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกองทุน เมื่อกองทุนรวมนี้ขายหน่วยลงทุนหมดแล้ว จะไม่มีการออกหน่วยลงทุนใหม่มาขายอีก และผู้ถือหน่วยลงทุนไม่สามารถนำหน่วยลงทุนที่ถืออยู่ไปขายคืนแก่กองทุนได้จนกว่าจะหมดอายุกองทุน อย่างไรก็ตาม กองทุนรวมประเภทนี้จะนำหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้หน่วยลงทุนมีสภาพคล่อง ซื้อขายเปลี่ยนมือได้


Closing Price ราคาปิด  
Closing Price  ราคาปิด : ราคาของหลักทรัพย์ใดๆ ที่เกิดจากการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นรายการสุดท้ายของแต่ละวัน
 

Common Stock หุ้นสามัญ 
Common Stock หุ้นสามัญ  : หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่ายเพื่อระดมเงินทุนมาดำเนินกิจการ ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเลือกตั้งกรรมการบริษัท ร่วมตัดสินใจในนโยบายการดำเนินงานของบริษัท และร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล (Dividend) กำไรส่วนทุน (Capital Gain) และสิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ เมื่อบริษัทเพิ่มทุนขยายกิจการ


Convertible Debenture หุ้นกู้แปลงสภาพ   
Convertible Debenture หุ้นกู้แปลงสภาพ  : หุ้นกู้ประเภทที่ระบุสิทธิแก่ผู้ถือที่จะแปลงสภาพหุ้นกู้นั้นไปเป็นหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นได้


Credit Balance ระบบบัญชีเครดิตบาลานซ์  
Credit Balance ระบบบัญชีเครดิตบาลานซ์  : ระบบบัญชีลูกค้าเงินกู้เพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Account) โดยผู้ลงทุนที่ต้องการกู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์จะต้องนำเงินสดจำนวนหนึ่งมาวางไว้กับบริษัทนายหน้าของตน เช่น 1,000,000 บาท จากนั้นบริษัทนายหน้า ก็จะกำหนดวงเงินให้ซื้อหลักทรัพย์ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับ Initial Margin Rate ที่กำหนดไว้ หาก Initial Margin เท่ากับ 50% วงเงินให้ซื้อหลักทรัพย์จะเท่ากับ = 2,000,000 บาท ซึ่งหมายความว่า 1,000,000 บาทแรก ซื้อด้วยเงินสดของผู้ลงทุน ส่วนที่เกินจากนั้นอีก 1,000,000 บาทเป็นเงินที่บริษัทสมาชิกให้กู้
 

ด้านอนุพันธ์

 

Calendar Spread  


Calendar Spread  : การเปิดสถานะในสัญญาฟิวเจอร์ส 2 สัญญา ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเดียวกันแต่มีเดือนที่สัญญาครบกำหนดต่างกัน

 

Call Market 


Call Market :  เป็นวิธีการซื้อขายในช่วง Pre-open โดยระบบซื้อขายจะนำคำสั่งเสนอซื้อขายทั้งหมดในช่วงเวลาดังกล่าวมาคำนวณหาราคาที่ทำให้เกิดปริมาณการซื้อขายสูงสุดเป็นราคาเปิด
 


Call Options


Call Options : สัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อออปชันในการซื้อสินทรัพย์อ้างอิงจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ตามจำนวน ราคา และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้


Cash Market  


Cash Market  : ตลาดสำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ตามปกติที่จะมีการตกลงส่งมอบสินค้าและชำระเงินทันที ซึ่งตรงข้ามกับตลาดฟิวเจอร์สที่เป็นการตกลงเพื่อการส่งมอบและชำระเงินในอนาคต ราคาที่ผู้ลงทุนตกลงซื้อขายในตลาดทันที เรียกว่า ราคาสินทรัพย์ที่ซื้อขายทันทีทันที (Cash price) เราอาจเรียก Cash market อีกชื่อหนึ่งว่า Spot market

 


Cash (or Spot) Price  
Cash (or Spot) Price : ราคาสินทรัพย์ที่ทำการตกลงเพื่อส่งมอบสินค้าและชำระเงินทันที เราอาจเรียก Cash price อีกชื่อหนึ่งว่า Spot price


Cash Settlement
Cash Settlement : การชำระราคาเป็นเงินสด ณ วันที่สัญญาหมดอายุ โดยเมื่อสัญญาฟิวเจอร์สครบกำหนด จะเป็นการส่งมอบเงินสด โดยคำนวณจากส่วนต่างของราคาปัจจุบัน ณ วันส่งมอบนั้นๆ กับสถานะของราคาฟิวเจอร์สตามบัญชีที่ตนเปิดไว้กับโบรกเกอร์


Clearing House  
Clearing House  : หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการชำระราคาการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์


Clearing Member  
Clearing Member  : บริษัทที่เป็นสมาชิกของสำนักหักบัญชี ซึ่งสามารถทำการชำระราคาที่เกิดจากสถานะในสัญญาอนุพันธ์ได้โดยตรงกับสำนักหักบัญชี
 

Closing Out
Closing Out : การที่ผู้ลงทุนล้างภาระผูกพันในอนุพันธ์ที่ตนทำไว้ ซึ่งการปิดสถานะสามารถทำได้ 2 กรณี คือ (1) เกิดจากการปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในสัญญา คือ มีการส่งมอบสินทรัพย์และชำระเงินในวันส่งมอบ (2) เกิดจากการทำธุรกรรมหักล้าง (Offsetting) ก่อนสัญญาจะครบกำหนดอายุ เช่น หากผู้ลงทุนซื้อฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 ที่มีวันครบกำหนดส่งมอบในเดือนมิถุนายน ผู้ลงทุนสามารถทำธุรกรรมหักล้างได้โดยเข้าไปขายฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 ที่มีการส่งมอบในเดือนเดียวกัน เมื่อล้างสถานะแล้ว ผู้ลงทุนก็จะไม่มีภาระผูกพันต้องปฏิบัติตามสัญญาอีกต่อไป


Comblination Order / Spread Order 
Comblination Order / Spread Order  : คำสั่งซื้อและ/หรือคำสั่งขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตั้งแต่ 2 สัญญาขึ้นไปพร้อมกัน โดยที่การซื้อขายดังกล่าวต้องสามารถจับคู่ได้พร้อมกันทุกสัญญาที่ทำการเสนอซื้อขาย ทั้งนี้ การเสนอซื้อขายดังกล่าวจะเป็นการเสนอซื้อขายในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ และมีเดือนส่งมอบเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ แต่การเสนอซื้อขายนั้นต้องไม่เป็นการเสนอซื้อขายสัญญาที่มีสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงเดียวกันและมีเดือนส่งมอบเดียว


Commodity Derivatives  
Commodity Derivatives  : อนุพันธ์ที่มีสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินทรัพย์อ้างอิง สินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงสินค้าเกษตรและสินค้า หรือแร่ธาตุ เช่น ทองคำ ทองแดง น้ำมัน น้ำตาล ข้าว ยาง มันสำปะหลัง เป็นต้น


Continuous Order Matching  
Continuous Order Matching  : เป็นระบบการซื้อขายในช่วงเวลาซื้อขายปกติ โดยที่ระบบซื้อขายจะทำการเรียงลำดับและจับคู่คำสั่งซื้อขายให้โดยอัตโนมัติด้วยหลักการราคาและเวลาที่ดีที่สุด (Price and Time Priority) รายงานผลให้สมาชิกทราบในทันที


Contract Month / Delivery Month  
Contract Month / Delivery Month  : เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ เช่น SET50 Index Futures มีเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุตรงกับเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาส (ตรงกับเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน ธันวาคม) โดยนับไปข้างหน้าจำนวนสี่ไตรมาสจากปัจจุบัน ดังนั้น ณ เวลาใดๆ จะมีสัญญาที่มีเดือนครบกำหนดต่างๆ กัน จำนวนทั้งสิ้นสี่สัญญา


Contract Specification  
Contract Specification  : เงื่อนไขหรือข้อกำหนดในสัญญา สำหรับสัญญาที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดอนุพันธ์ จะมีการกำหนดเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวให้มีรูปแบบมาตรฐาน เช่น สัญญาฟิวเจอร์สจะมีการกำหนดประเภทของสินค้าอ้างอิง คุณภาพขั้นต่ำของสินค้าอ้างอิง ขนาดของสัญญา วัน เวลา และสถานที่ในการส่งมอบ รวมทั้งวิธีการชำระราคาของสัญญาทุกสัญญาให้เป็นไปในรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน


Counterparty  
Counterparty  : คู่สัญญาที่มีพันธะสัญญาต่อกัน ในตลาดอนุพันธ์ คู่สัญญาของสำนักหักบัญชีก็คือสมาชิกสำนักหักบัญชี แต่ไม่เป็นคู่สัญญากับผู้ลงทุน เนื่องจากคู่สัญญาของผู้ลงทุนก็คือโบรกเกอร์ซึ่งเป็นสมาชิกสำนักหักบัญชี
 

Counterparty Risk 
Counterparty Risk : ความเสี่ยงที่เกิดจากคู่สัญญาบิดพลิ้ว ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาที่ตกลงกันไว้
 
 

Trinity Academy

ห้องเรียนการลงทุนอย่างมืออาชีพ

ลงทุนหุ้นจีนผ่าน DRx ง่ายนิดเดียว!

ความรู้การลงทุนหุ้น อนุพันธ์ และสินทรัพย์อื่นๆ

บทความการลงทุน

สอบถามข้อมูลทั่วไป

0-2088-9100

สอบถามข้อมูลซื้อขายหลักทรัพย์

0-2343-9555

e-mail

trinity@trinitythai.com

Shortcut Menu

หน้าหลัก

บทวิเคราะห์

  • บทวิเคราะห์ล่าสุด
  • ปัจจัยทางเทคนิค
  • ปัจจัยพื้นฐาน
  • บทวิเคราะห์รายหลักทรัพย์
  • บทวิเคราะห์ราย Sector
  • Trinity Quick Win

ประกาศและข่าวสาร

  • ประกาศ
  • ประกาศทั่วไป
  • ข้อมูลเกี่ยวกับซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต
  • ปฏิทินหลักทรัพย์

ข้อมูลนักลงทุน

  • เจาะเทรนด์ลงทุน
  • กลยุทธ์การลงทุน
  • ความรู้การลงทุน
  • กลยุทธ์ทางเทคนิค
  • สัมมนา
  • เจาะเทรนด์ลงทุน
  • บทความการลงทุน

ข้อมูลสมาชิก

ติดต่อเรา

  • นโยบายการใช้คุ้กกี้
  • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • Home
  • Ask a Question
  • Contact Us
  • FAQs

Copyright 2025 All right reserved. Trinity Securities Group.

บริษัทฯ มีการใช้งานคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของคุณกรุณากด ยอมรับ เพื่อยินยอมให้บริษัทฯ ใช้คุกกี้ คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้