SSI-SCA (กองทุนเวียดนาม)
ข้อมูลเบื้องต้น
SSI-SCA คืออะไร
SSI-SCA คือกองทุนรวมต่างประเทศสัญชาติเวียดนาม ลงทุนในหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศเวียดนาม SSI-SCA มีชื่อย่อมาจาก SSI Sustainable Competitive Advantage Fund ตลาดหุ้นของเวียดนามที่กองทุนนี้ลงทุนได้แก่ Ho Chi Minh Stock Exchange และ Hanoi Stock Exchange และกองทุนนี้มีการบริหารโดยผู้จัดการกองทุนชาวเวียดนาม
ผลตอบแทนรวมล่าสุดนับจากวันจัดตั้งกองทุน
NAV/Unit (VND) |
Performance (%) | |||||||||
2017 | 2018 | 2019 | 2020 | 2021 | 2022 | 2023 | YTD 2024 |
Since Inception |
||
SSI-SCA | 38,499.46 | 38.2% | -12.1% | 3.90% | 18.61% | 49.90% | -26.05% | 28.43% | 25.91% | 253.37% |
VN-Index | 48.0% | -9.3% | 7.67% | 14.87% | 35.73% | -32.78% | 12.20% | 12.63% | 99.93% |
ข้อมูล ณ 29 พฤษภาคม 2024 ; วันจัดตั้งกองทุน 26 กันยายน 2014
SSIAM เป็นใคร
บริษัทหลักทรัพย์ SSI Asset Management Co., LTD (SSIAM) เป็นบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศเวียดนามที่ให้บริการด้านการบริหารการลงทุนกับลูกค้าสถาบันต่างประเทศ สถาบันในประเทศ และลูกค้าบุคคลทั้งในและต่างประเทศ โดยมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการรวมทั้งสิ้น 579 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2022) และมีผู้จัดการกองทุนและทีมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่เป็นบุคลากรที่มีประสบการณ์ความสามารถและความรู้ความเข้าใจการลงทุนในเวียดนามกว่า 25 คน
SSIAM ถือหุ้นโดยบริษัท Saigon Securities Incorporation (SSI) 100% ซึ่ง SSI เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) และรายได้มากที่สุดในปี 2018 ของประเทศเวียดนาม โดยให้บริการด้านหลักทรัพย์ครบวงจร ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับรางวัลผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมในระดับนานาชาติมากมาย
ใครคือผู้บริหารจัดการกองทุน SSI-SCA
บริษัทหลักทรัพย์ SSI Asset Management Co., LTD หรือมีชื่อย่อสั้นๆ ว่า SSIAM
กองทุนนี้ต่างจากกองทุนของ บลจ.อื่นที่ลงทุนในกองทุนเวียดนามอย่างไร
โดยปกติแล้วหากนักลงทุนไทยต้องการเข้าไปลงทุนในตลาดทุนเวียดนาม ตัวเลือกของนักลงทุนไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันได้แก่
- ลงทุุน ด้วยตนเอง ผ่านโบรกเกอร์ในไทย หรือ
- ลงทุนผ่าน กองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลสัญชาติไทย ที่ไปลงทุนในหุ้นเวียดนามโดยตรง
- ลงทุนผ่าน กองทุนรวมสัญชาติไทยประเภท Fund of Funds ที่ไปลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ (Foreign Funds)ที่ลงทุนในหุ้นเวียดนาม เช่น ETF และหุ้นอื่นๆ
- ลงทุนใน ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (DR) ที่ถือ ETF ที่ลงทุนตามดัชนี VN30 ของเวียดนาม
- ลงทุนผ่าน กองทุนรวมสัญชาติเวียดนาม ที่มีผู้บริหารกองทุนเป็นคนเวียดนาม ทีมบริหารและวิเคราะห์อยู่ที่ประเทศเวียดนามผ่านตัวแทนการขายโดย บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
การลงทุนใน SSI-SCA นั้นเป็นการ ลงทุนในกองทุนที่บริหารโดยคนเวียดนามที่มีประสบการณ์ และความรู้ความเข้าใจในการบริหารพอร์ตลงทุนมาเป็นระยะเวลายาวนาน อีกทั้งยัง มีความรู้และมีข้อมูลตลาดเชิงลึก การที่นักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนทุกคนพูดภาษาเวียดนามอาศัยและดำรงชีพอยู่ในประเทศเวียดนามทำให้ขจัดอุปสรรคทางภาษาและความเข้าใจในระบบความคิด วัฒนธรรมและการเข้าถึงข้อมูลได้ก่อนนักลงทุนรายย่อยทั้งในและต่างประเทศและนักลงทุนสถาบันต่างชาติและ SSI-SCA ซึ่งใช้วิธีลงทุนแบบเน้นคุณค่าจึงทำให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากผู้บริหารกองทุนที่เป็นคนเวียดนาม
SSI-SCA ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใด
ลงทุนในหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศเวียดนาม (Ho Chi Minh Stock Exchange และ Hanoi Stock Exchange) เท่านั้น
SSI-SCA เหมาะกับใคร
เหมาะกับนักลงทุนไทยที่สามารถรับความเสี่ยงได้และมีมุมมองระยะยาว มีเงินเย็นที่สามารถลงทุนได้ พร้อมจะรอให้ตลาดเห็นมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น มีความต้องการที่จะกระจายความเสี่ยงเงินลงทุนไปในประเทศอื่นนอกเหนือจากประเทศไทย
กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน SSI-SCA
กองทุนเลือกใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Active และโฟกัสการลงทุนไปที่บริษัทมีความได้เปรียบเหนือบริษัทอื่นในระยะยาว มีส่วนแบ่งการตลาดสูง มีการบริหารที่โปร่งใสตรวจสอบได้ มีสถานะทางการเงินที่ดี มีศักยภาพการดำเนินงานที่ดีถึงแม้จะอยู่ในช่วงที่ตลาดไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจของบริษัท มีมูลค่าพื้นฐานน่าดึงดูดเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับโอกาสที่จะเติบโตในอนาคตของบริษัท
ปรัชญาการเลือกหุ้นเข้ากองทุน SSI-SCA
SSI-SCA เลือกใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Active เพื่อคัดกรองและเลือกบริษัทเพื่อเข้าลงทุน อ้างอิงจากข้อมูลของบทวิจัย Macroeconomic เพื่อประกอบการวิเคราะห์ กองทุนอาจจะสร้างแบบจำลองทางการลงทุนที่ตรงกับวัตถุประสงค์กับกองทุนเพื่อที่จะกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพตลาดในขณะนั้นๆ ในทุกๆการลงทุนกองทุนจะทำการคัดกรองและเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับ Valuation ของบริษัท ในขณะเดียวกันกองทุนก็จะประเมินเกี่ยวกับความเสี่ยงและสร้างระบบเพื่อจัดการความเสี่ยงนั้นๆ ด้วยกระบวนการเหล่านี้ กองทุนจะสามารถสร้างพอร์ทการลงทุนที่ได้รวมหลักทรัพย์ที่มีคุณภาพเข้ามาในพอร์ทและเพิ่มมูลค่าของกองทุนผ่านการลงทุนด้วยกลยุทธ์แบบ Active
กองทุนจะลงทุนหลักๆในบริษัทจดทะเบียนที่มี Market Capitalization สูง สภาพคล่องสูง บริษัทจดทะเบียนเหล่านี้จะต้องมีความได้เปรียบในระยะยาวซึ่งหมายความถึง จะต้องเป็นบริษัทที่เป็นผู้นำตลาด มีศักยภาพเติบโตสูงได้ในระยะยาว มีการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ มีการบริหารที่โปร่งใสตรวจสอบได้ มีสถานะทางการเงินที่แข็งแรงมีคุณภาพ มีผลตอบแทนจากเงินลงทุนสูง นอกจากนั้นแล้วกองทุนยังอาจนำสินทรัพย์ส่วนหนึ่งของกองทุนไปลงทุนในบริษัทจดทะเบียนที่มี Market Capitalization ต่ำ มีสภาพคล่องต่ำแต่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาวและอยู่ในมูลค่าที่เหมาะสม
- ขั้นตอนในการคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ทการลงทุน
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์แบบ Top-down เพื่อเลือกหาหุ้นที่มีศักยภาพเติบโต
ขั้นตอนที่ 2 คัดเลือกบริษัทที่มีคุณภาพและเข้าคุณสมบัติที่กำหนดไว้ ได้แก่ มี Market Capitalization สูง, สภาพคล่องสูง,เป็นผู้นำตลาด, มีการบริหารจัดการที่ดี,การบริหารจัดการโปร่งใส ตรวจสอบได้,สถานะทางการเงินแข็งแกร่ง, ผลตอบแทนจากเงินลงทุนสูงเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆในอุตสาหกรรมเดียวกัน, มีศักยภาพการเติบโตสูง
ขั้นตอนที่ 3 กระจายความเสี่ยงพอร์ทการลงทุน โดยขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางพื้นฐาน ศักยภาพการเติบโตของบริษัทและอุตสาหกรรม มีการบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง กองทุนจะลงทุนแบบใช้กลยุทธ์แบบ Active ในการสร้างพอร์ทโฟลิโอกระจายความเสี่ยงซึ่งเป็นการกระจายการลงทุนไปในอุตสาหกรรมที่แตกต่าง
นโยบายการลงทุนในกองทุน SSI-SCA
- เน้นลงทุนในบริษัทที่มีข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันที่ยั่งยืน มีการบริหารจัดการที่แข็งแกร่งและมีความเสี่ยงต่ำ สามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง
- เลือกกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ให้ผลตอบแทนที่ดีมีความเข้มแข็งทางธุรกิจ มี Business Model ที่ดี และมีธรรมาภิบาลดีเด่น
- ลงทุนระยะยาวในกลุ่มบริษัทที่ได้รับการประเมินแล้วว่าต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน (Undervalued)เมื่อเทียบกับศักยภาพในการเติบโตในอนาคต
- เลือกลงทุนใน Sector ที่มองว่าระยะยาวจะสามารถเติบโตตามเศรษฐกิจของเวียดนาม เช่น กลุ่มการเงิน, กลุ่ม Consumer Retail, กลุ่มท่องเที่ยว, กลุ่มก่อสร้าง, กลุ่มธนาคาร, กลุ่มเครื่องประดับสตรี, กลุ่มเทคโนโลยี, กลุ่มพลังงานและปิโตรเลียม, กลุ่มบริการและกลุ่มเภสัชกรรม
สัดส่วนการลงทุนของกองทุน SSI-SCA
ข้อมูล ณ 29 พฤษภาคม 2024
ความเสี่ยงของการลงทุนในกองทุน SSI-SCA
- ความเสี่ยงคล้ายกับการลงทุนประเภทอื่นๆ ความเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญลำดับแรกคือนักลงทุนต้องรู้ว่าสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหนก่อนที่จะลงทุนในกองทุนนี้และทางผู้จัดการกองทุนได้มีการจัดการความเสี่ยงนี้อย่างไร
- ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ (Inflation Risk)
- ความเสี่ยงด้านความผันแปรของดอกเบี้ย (Interest rate risk)
- ความเสี่ยงด้านค่าเงิน (Exchange rate risk)
- ความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคา (Price Volatility risk)
- ความเสี่ยงด้านกฏหมาย (Legal Risk)
- ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ของการลงทุน (Risk of investment Strategies)
- ความเสี่ยงด้านข้อจำกัดของการลงทุน (Risk of investment restriction)
- ความเสี่ยงด้านการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ (Risk of Valuation)
- ความเสี่ยงด้านการชำระราคา (Settlement Risk)
- ความเสี่ยงด้านการขาดเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง (Hedging Instruments)
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk)
- ความเสี่ยงของระบบการจัดการภายในของกองทุน (Risk of Fund Management Operation)
- ความเสี่ยงด้านการขัดกันของผลประโยชน์ระหว่างกองทุนและสินทรัพย์ทางการเงินที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการ (Conflict of interest Risk)
- ความเสี่ยงของเหตุสุดวิสัย (Force Majeure Risk)
ข้อจำกัดการลงทุนของกองทุน SSI-SCA
Benchmark สำหรับวัดผลตอบแทนของกองทุน SSI-SCA
ใช้ VN-Index (VNI) เป็น Benchmark โดย VN-Index คือดัชนีตัวแทนของตลาดหุ้นเวียดนามโดยใช้วิธีการคำนวนแบบ capitalization-weighted จากทุกบริษัทที่จดทะเบียนใน Ho Chi Minh City Stock Exchange โดยดัชนีนี้สร้างขึ้นจากฐานของ Index ที่ 100 ณ วันที่ 28 กรกฎาคม 2000
ข้อมูล NAV ล่าสุดของกองทุน SSI-SCA
นักลงทุนจะได้รับ Statement รายงานมูลค่า NAV ทุกเดือนจาก บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
ช่วงระยะเวลาที่แนะนำสำหรับการถือครองกองทุน SSI-SCA
ระยะเวลาอย่างต่ำ 2 ปีเพื่อจะมีเวลาเพียงพอให้หุ้นทำงานเพื่อจะได้รับผลตอบแทนที่มั่งคั่งและยั่งยืนนอกจากนั้นยังไม่เสียค่า Redemption Fee
การโอนหน่วยลงทุนให้ผู้อื่น
สามารถโอนได้ แต่ไม่แนะนำเนื่องจากมีขั้นตอนซับซ้อนและเสียค่าใช้จ่ายและเวลามาก โดยวิธีการโอนนั้นต้องเป็นการโอนให้ผู้อื่นในลักษณะเป็นของขวัญมรดกหรือการบริจาคและต้องมีการทำ Notary Public ที่สถานฑูตเวียดนามประจำประเทศไทย และผู้รับโอนต้องเป็นคนจ่ายภาษีมรดกหรือภาษีของขวัญมูลค่า 10% ของ NAV บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด แนะนำว่าหากนักลงทุนประสงค์ที่จะโอนให้ผู้อื่นควรจะขายและซื้อใหม่แทนการโอน
ภาษีที่เกี่ยวข้อง
ภาษีสำหรับนักลงทุนไทย (Non-residential) หากมีการโอนกองทุนเพื่อมอบเป็นของขวัญหรือมรดกจะต้องเสียภาษี 10%ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่เกินกว่า 10 ล้าน VND ขึ้นไป
0.10% ของมูลค่าการไถ่ถอนกองทุน (ภาษีถูกหักตั้งแต่ต้นทาง)
หากนักลงทุนนำรายได้จากการลงทุนจากการขายหน่วยลงทุน/หลักทรัพย์ในต่างประเทศกลับเข้ามาในประเทศไทยภายในปีที่ขาย ซึ่งรายได้ดังกล่าว รวมถึง กำไรจากการขาย(ไม่รวมเงินลงทุน), เงินปันผล, ดอกเบี้ย และผลประโยชน์อื่นๆ ที่ท่านได้รับจากต่างประเทศ จะต้องนำรายได้ดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทฯ จะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งสรรพากร ในอัตราก้าวหน้าสำหรับบุคคลธรรมดา
ตารางอัตราภาษีก้าวหน้าสำหรับบุคคลธรรมดา
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- เงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย (แต่ต้องยื่นภาษี)
- เงินได้สุทธิ 150,001 - 300,000 บาท จะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราภาษี 5%
- เงินได้สุทธิ 300,001 - 500,000 บาท จะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราภาษี 10%
- เงินได้สุทธิ 500,001 - 750,000 บาท จะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราภาษี 15%
- เงินได้สุทธิ 750,001 - 1,000,000 บาท จะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราภาษี 20%
- เงินได้สุทธิ 1,00,001 - 2,000,000 บาท จะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราภาษี 25%
- เงินได้สุทธิ 2,000,001 - 5,000,000 บาท จะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราภาษี 30%
- เงินได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป จะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราภาษี 35%
วิธีการคำนวณด้วยอัตราภาษีก้าวหน้า
วิธีการคำนวณภาษีแบบอัตราก้าวหน้า จะต้องแบ่งเงินได้สุทธิออกเป็นก้อนตามขั้นภาษีเพื่อนำไปคูณกับอัตราภาษีในแต่ละขั้นของภาษี จากนั้นจึงนำภาษีที่คำนวณมาได้จากแต่ละขั้นมารวมเป็นภาษีที่ต้องการจ่าย
วิธีการคำนวณภาษีด้วยอัตราก้าวหน้า สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถทำได้ด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. แยกเงินได้สุทธิออกเป็นขั้น ขั้นแรกแบ่งเงินได้ออกเป็นขั้น ตามขั้นเงินได้สุทธิตามตารางอัตราภาษีขั้นบันได
2. คูณเงินได้สุทธิแต่ละขั้นกับอัตราภาษีของแต่ละขั้น นำเงินได้แต่ละขั้นคูณกับอัตราภาษีของแต่ละขั้น จะได้เป็นภาษีของแต่ละขั้น
3. รวมภาษีแต่ละขั้น นำภาษีที่คำนวณได้ของแต่ละขั้นมารวมกัน ซึ่งจะได้เป็นภาษีที่ต้องจ่าย
ตัวอย่าง
ลูกค้าได้รับกำไรจากการขายกองทุน ก่อน หักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวน 350,000 บาท เมื่อเทียบเงินได้สุทธิกับตารางอัตราภาษีก้าวหน้า จะเห็นว่าเงินได้ 350,000 บาทอยู่ในขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 3
- ขั้นที่ 1 ตั้งแต่ 1 -150,000 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย )
- ขั้นที่ 2 ตั้งแต่ 150,001 - 300,000 บาท (หัก ณ ที่จ่าย อัตราภาษี 5%)
- ขั้นที่ 3 ตั้งแต่ 300,001 - 500,000 บาท (หัก ณ ที่จ่าย อัตราภาษี 10%)
ตารางตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้ด้วยอัตราภาษีก้าวหน้าของเงินได้สุทธิ 350,000 บาท สามารถคำนวณได้ ดังนี้
ดังนั้น จากตัวอย่างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องจ่ายของเงินได้สุทธิ 350,000 บาท จะเท่ากับ 0+7,500+5,000=12,500 บาท
ตัวอย่างการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราก้าวหน้า